สไลด์ภาพ

ปฎิธิน

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

เลือกสเปคจากโปรแกรมที่ใช้งานจริง

เลือกสเปคจากโปรแกรมที่ใช้งานจริง

1. ใช้งานโปรแกรม Word, Excel, โปรแกรมบัญชี ฐานข้อมูล อินเตอร์เน็ต
     - เลือกProcessor Intel Celeron รุ่นต่ำที่สุด
     - RAM 256MB หรือถ้างบมากก็เพิ่มเป็น 512MB
     - Mainboard build in Sound, VGA, LAN 10/100, support SATA/UATA
     - Hard disk 40GB ขึ้นไป
     - Floppy disk drive ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว ใช้ USB drive แทน
     - CD-RW
     - จอภาพ ถ้างบไหวก็ใช้ LCD เพราะรังสีต่ำ, ประหยัดพื้นที่, ภาพพจน์ดี
     - Keyboard, Mouse ถ้างบดีก็เปลี่ยนเป็นยี่ห้อ Logitech รุ่นระดับกลางขึ้นไป     เพื่อการใช้งานที่ดี
     - ถ้าจะใช้ Wireless LAN ก็เพิ่มการ์ด Wireless PCI หรือ USB

2. ใช้งานกราฟฟิค Auto cad, Photoshop, CorelDraw, เล่นเกม
     - เลือก Processor เป็น Intel Pentium4 หรือ AMD Athlon รุ่นดีที่สุด
     - RAM 1GB แบบแถวเดียว เพื่อเพิ่มได้อีกในอนาคต
     - Mainboard build Sound, LAN10/100, PCI Express slot, support SATA/UATA
     - VGA card PCI Express 128MB ขึ้นไป, 256MB ก็จะดี
     - Hard disk 80GB ขึ้นไป
     - Floppy disk drive ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว ใช้ USB drive แทน
     - CD-RW หรือ DVD-RW หรือ DVD Writer ไปเลย ถ้างบไหว
     - จอภาพ ถ้างบไหวก็ใช้ LCD เพราะรังสีต่ำ, ประหยัดพื้นที่, ภาพพจน์ดี
     - Keyboard, Mouse ถ้างบดีก็เปลี่ยนเป็นยี่ห้อ Logitech รุ่นระดับกลางขึ้นไป เพื่อการใช้งานที่ดี
     - ถ้าจะใช้ Wireless LAN ก็เพิ่มการ์ด Wireless PCI หรือ USB



แหล่งที่มา :
http://www.d108.com/products/pc/index.htm

ภาษาที่นิยมใช้เขียนโปรแกรม

ภาษาที่นิยมใช้เขียนโปรแกรม

มีดังต่อไปนี้


ภาษาซี : คงเส้นคงวาดีเพราะคนแก่ๆแต่ก่อนเรียนกันแต่ภาษาซี ตอนนี้เลยมีโปรแกรมเมอร์ภาษาซีมหาศาล อีกอย่างโปรแกรม ที่ใช้กันตามเครื่องแคชเชียร์ส่วนใหญ่ก็ยังรันกันบนดอสอยู่ โปรแกรมพวกนี้ก็ใช้ภาษาซีเขียน


จาวา : ตอน August 2004 เป็นภาษาที่ดังอันดับหนึ่ง แต่ช่วงหลังความนิยมตก ถ้าเดาเล่นๆคงเป็นเพราะ แต่ก่อนเวลาจะทำ Animation บนเว็บก็ต้องใช้ Java Applet ตลอด 


พีเอชพี: พีเอชพี 5 หรือเวอร์ชันใหม่ที่กำลังจะออกมานี้ เพิ่มความเป็น Object Oriented มากขึ้น และเพิ่มเรื่องของ Exception Handling .. มีคนแซวเหมือนกันว่า Zend ใช้เวลาห้าปี กว่าจะทำ try(..){ .. }catch(...){ ..} ให้ใช้ได้  แต่ไม่ได้ศึกษา  ต่อเหมือนกันว่าเวอร์ 5 นี้ รูปแบบการเขียนมันจะเปลี่ยนไปหมดจนกลายเป็นภาษา OOP เต็มตัวเหมือน Java , C# หรือ  VB.NET รึเปล่า ถ้าเป็นแบบนั้นความนิยมคงตกลงพอควร


จาวาสคริปต์ : คงเส้นคงวาจริงๆครับภาษานี้ เกิดมาก็อยู่แต่ในเว็บ ถึงตอนนี้ก็ยังอยู่ในเว็บ เคยไปเป็นภาษาตัวเลือกในการเขียน ASP เหมือนกัน แต่ก็ไม่รุ่งเท่า VB 


เดลไฟ หรือ Object Pascal : เรียกว่าตอนกำลังจะหัด Visual Basic , Delphi ก็มาเป็นตัวเลือกเหมือนกัน  และก็มีกระทู้ประเภท   VB VS Delphi ในบอร์ดไทยเดฟบ่อยๆ  ข้อแข็งที่สุดของภาษานี้คือ EXE ที่มันผลิตมารันแบบ  stand-alone ได้ ! ถ้าเป็น VB ต้องแพครันไทม์ไปอีกอย่างต่ำๆก็หนึ่งเมก สังเกตตอน Jun - 04 นี่  กราฟพุ่งขึ้นเลย คิดว่าคงเป็นช่วงออกเวอร์ชันใหม่


C#:  ภาษาหน้าใหม่ที่เหมือนจาวา แต่ตอนนี้จากสถานการณ์ที่บีบบังคับให้เขียนพร้อมๆกันทั้งสองภาษาก็เริ่มรู้ความแตกต่าง  เล็กๆน้อยๆ เช่น
        C# ใช้ string.Substring(start,lenght) Java ใช้ String.substring(start,end)
        C# ใช้ xxx.ToString() Java ใช้ xxx.toString()
        C# เป็นภาษาที่ถูกปั้นจากดิน เพื่อสำหรับเป็นภาษาที่ใช้ใน .NET โดยเฉพาะ ภาษาที่ใช้ใน .NET ที่ Microsoft จัดมาให้  เลยก็  มี C# , VB.NET , J# แต่ J# หลายคนบอกว่าเป็นเหตุผลทางการตลาดมากกว่า ที่จะดึงฐานผู้ที่แต่เดิมใช้ Java ให้มาเขียน  .NET ด้วย , ตามเว็บที่เขียนเกี่ยวกับ .NET ก็แทบจะไม่พูดถึงภาษานี้เลย


                                                Video ภาษา C



Video ภาษา Java


Video ภาษา  PHP






แหล่งที่มา http://www.solidskill.net

เพลง คิดถึงฉันไหมเวลาที่เธอ

อุปกรณ์ต่างๆภายในคอมพิวเตอร์




อุปกรณ์ต่างๆภายในคอมพิวเตอร์


ในส่วนของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ก็จะมีหลายอย่างด้วยกัน อาทิ เช่น




จอภาพ 

        การทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch




  เคส


                          เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น





 พาวเวอร์ซัพพลาย 


        เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ







 คีย์บอร์ด 


         เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลที่สำคัญที่สุด มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์ดีด มีจำนวนแป้น 84 - 105 แป้น ขึ้นอยู่กับแป้นที่เป็น กลุ่มตัวเลข (Numeric keypad) กลุ่มฟังก์ชัน (Function keys) กลุ่มแป้นพิเศษ (Special-purpose keys) กลุ่มแป้นตัวอักษร (Typewriter keys) หรือกลุ่มแป้นควบคุมอื่น ๆ (Control keys) ซึ่งการสั่งงานคอมพิวเตอร์และการทำงานหลายๆ อย่างจำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก




 เมาส์ 




            

            อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด




 เมนบอร์ด 



           แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด






  ซีพียู 




          ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ

     1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit: ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้ 

     2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon 




การ์ดแสดงผล  




           การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย 




แรม 



            RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที 




ฮาร์ดดิสก์

   
             เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว 




  CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD-RW 




             เป็นไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้คือ CD-RW หรือ DVD-RW โดยความเร็วของ ซีดีรอมจะเรียกเป็น X เช่น 16X , 32X หรือ 52X โดยจะมี Interface เดียวกับ Harddisk การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 





ฟล็อปปี้ดิสก์  เป็นต้น




          เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซีเสียอีก โดยเริ่มจากที่มีขนาด 8 นิ้ว กลายมาเป็น 5.25 นิ้ว จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับ 
           ในปัจจุบันการใช้งานฟล็อปปี้ดิสก์นั้นน้อยลงไปมากเพราะ เนื่องจากจุข้อมูลได้น้อยซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมี การพัฒนาฟล็อปปี้ดิสก์ก็ไม่ได้หยุดยั้งไปเสียทีเดียว ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ระบบ Optical ทำให้สามารถขยายความจุไปได้ถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น



Video อุปกรณ์ต่างๆภายในคอมพิวเตอร์




แหล่งที่มา